ซีซี่คนสวยกับภาพเนื้อที่ถูกนำมาทำเป็นหน้ากาก

หน้ากากเนื้อของซีซี่ สูตรลับความงามของจักรพรรดินีแห่งออสเตรีย

‘คุณไม่รู้หรอกว่าเรารักผู้หญิงคนนี้มากมายแค่ไหน’ จักรพรรดิฟรานซ์ โจเซฟ ที่ 1 แห่ง ออสเตรีย กล่าวไว้ เมื่อทราบข่าวการสิ้นพระชนม์ของ ซีซี่ หรือ จักรพรรดินีเอลิซาเบธแห่งออสเตรีย (1837-1898) หญิงสาวที่พระองค์ทรงรักสุดหัวใจ ซีซี่เสียชีวิตระหว่างเดินทางท่องเที่ยวในสวิสเซอร์แลนด์ ถูกแทงด้วยมีดปลายแหลมจากชายผู้มีแนวคิดต่อต้านระบบกษัตริย์ ชีวิตของซีซี่จบลงในวัย 60 ปี และแม้จะอยู่ในวัยชรา

วินสตัน เชอร์ชิล กับ เจ้าหญิงไดอาน่า เป็นญาติกันประมาณไหน ว่าด้วยความเกี่ยวข้องของนามสกุล ‘สเปนเซอร์’ ‘เชอร์ชิล’ และ ‘สเปนเซอร์-เชอร์ชิล’

วินสตัน เชอร์ชิล กับเจ้าหญิงไดอาน่า(พระนามเดิมเลดี้ไดอาน่า สเปนเซอร์) ไม่ได้มีจุดร่วมคล้ายกันแค่เป็นบุคคลสำคัญที่มีภาพลักษณ์เกี่ยวพันกับประเทศอังกฤษ อันที่จริงนามสกุล ‘เชอร์ชิล’ ของวิสตัน เชอร์ชิล กับนามสกุล ‘สเปนเซอร์’ ของเจ้าหญิงไดอาน่า ยังเป็นสายย่อยของตระกูลใหญ่ที่มีความสำคัญย้อนกลับไปไกลตั้งแต่ยุคสมัยของราชวงศ์สจ๊วต ตระกูลนี้มีชื่อเรียกในปัจจุบันว่า ‘สเปนเซอร์-เชอร์ชิล’ ปัจจุบันเป็นผู้ครองตำแหน่งดยุกแห่งมาร์ลบะระ ‘ตระกูลสเปนเซอร์’ และ ‘ตระกูลเชอร์ชิล’ แรกเริ่มเดิมทีเป็นสองตระกูลขุนนางที่มีผู้สืบทอดของตัวเอง

“เลือดเจ้า” ว่าด้วยเรื่องราวของโรคฮีโมฟีเลียและมรดกเลือดจากควีนวิกตอเรียสู่ราชวงศ์ยุโรป

ควีนวิกตอเรียเป็นหนึ่งในราชินีที่โด่งดังและเป็นที่รู้จักมากที่สุดในโลก มรดกจากยุคของพระองค์มีตั้งแต่การล่าอาณานิคมไปจนถึงแฟชั่นและจารีตทางสังคมมากมาย ผ่านทางลูกๆ ทั้ง 9 และหลานอีก 42 สายเลือดของควีนวิกตอเรียสร้างสายสัมพันธ์ที่ซับซ้อนจนได้รับฉายาเป็นสมเด็จย่าแห่งยุโรป ในขณะที่สายเลือดของพระองค์แตกกิ่งก้าน มรดกที่เป็นดั่งคำสาปก็กระจายออกไปเช่นกัน ทุกวันนี้ควีนวิกตอเรียเป็นที่จดจำในอีกชื่อที่ไม่น่าภูมิใจนัก คือทรงเป็นต้นตอของโรคฮีโมฟีเลีย – หนึ่งในสาเหตุที่ทำให้สองราชวงศ์ยิ่งใหญ่ต้องสั่นคลอนถึงขั้นล่มสลาย ราชวงศ์แรกคือโรมานอฟของรัสเซีย ราชวงศ์หลังคือบูร์บงของสเปน ฮีโมฟีเลีย หรือโรคเลือดไหลไม่หยุดเป็นโรคทางพันธุกรรมที่เกิดจากความผิดปกติเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด ผู้ป่วยโรคนี้ไม่ได้มีเลือดออกมากหรือเร็วกว่าคนทั่วไป แต่ขาดโปรตีนสำคัญที่ทำให้เลือดหยุดไหลทำให้เลือดออกนานจนเป็นอันตราย

ราชินีศพสวย เปโตรแห่งโปรตุเกสกับการตั้งศพของคนรักให้เป็นราชินี

ราชินีศพสวย – เปโตรแห่งโปรตุเกสกับการตั้งศพของคนรักให้เป็นราชินี

เมื่อผู้เป็นที่รักเสียชีวิต เรามักคิดว่าร่างกายของพวกเขาควรได้พักผ่อนในที่พำนักแห่งสุดท้าย คนส่วนใหญ่ได้แค่ทำใจ จดจำและระลึกถึง แต่นั่น ไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อคุณเป็นคนยิ่งใหญ่ที่มีอำนาจล้นฟ้า เจ้าชายเปโตร (1320-1367) ทรงเป็นพระโอรสเพียงพระองค์เดียวของพระเจ้าอัลฟองโซที่ 4 แห่งโปรตุเกส เมื่อเจ้าชายเติบใหญ่ ทรงเข้าพิธีสมรสกับเจ้าหญิงจากแคว้นคาสตีลนามว่าคอนสแตนซา เมื่อเจ้าสาวเดินทางมาพร้อมกับกลุ่มนางสนองพระโอษฐ์ เจ้าชายถึงกลับตะลึงละสายตาไม่ลง ทรงตกหลุมรักกับสตรีนางหนึ่ง ไม่ใช่เจ้าสาว แต่เป็นนางสนองพระโอษฐ์นามว่าอิเนส เด กัสโตร

แอนน์ แมรี่ และจอร์จ โบลีน จากภาพยนต์ดัง The Other Boleyn Girl

จริงหรือไม่ แอนน์ โบลีน เคยแท้งทารกปีศาจ? เรื่องนี้มีที่มาจากอะไร ว่าด้วยความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับตระกูลโบลีน

แอนน์ โบลีน ราชินีคนที่สองของพระเจ้าเฮนรี่ที่ 8 และพระมารดาของควีนเอลิซาเบธที่ 1 นอกจากจะเป็นหนึ่งในบุคคลที่โด่งดังที่สุดในประวัติศาสตร์ เธอยังครองแชมป์ราชินีสาวที่มีเรื่องราวลึกลับถูกเข้าใจผิดมากที่สุดในโลก หนึ่งในเรื่องยอดฮิตเกี่ยวกับแอนน์ โบลีน คือการแท้งบุตรที่มีร่างกายพิกลพิการ อันเป็นหนึ่งในสาเหตุให้เธอถูกประหารในอีกไม่กี่เดือนต่อมา แต่ข้อกล่าวหานี้มีมูลความจริงมากแค่ไหน? เรามาลองพิจารณาเอกสารหลักฐานร่วมสมัย 4 ฉบับที่กล่าวถึงเหตุการณ์ในวันนั้นผ่านสายตาของบุคคลที่มีภูมิหลังแตกต่างกันทั้ง 4 ท่าน ทารกปีศาจ หรือเด็กชายผู้งดงาม

ภาพถ่ายจากอัลบัมลงสีโดย Klimbim นำเสนอห้องโถงของโรงเรียนในช่วงเวลาเยี่ยมญาติ ช่วงเวลาที่เปิดให้เข้าเยี่ยมคือวันพฤหัสและวันอาทิตย์ เวลาเที่ยงตรงถึงบ่ายสอง เด็กๆ สามารถใช้เวลาพูดคุยกับครอบครัวโดยมีการสอดส่องอย่างใกล้ชิดของสตรีผู้ดูแลเรียกกันว่า class lady โต๊ะจะถูกจัดไว้ก่อน ครอบครัวของนักเรียนจะมานั่งรออย่างเป็นระเบียบ เมื่อถึงเวลาเที่ยงตรง นักเรียนจะถูกนำตัวเข้ามาเป็นแถว นั่งลงพูดคุยกับครอบครัวด้วยเสียงที่เบา ท่าทีสง่างาม หลายครอบครัวเตรียมของฝากมาให้ ส่วนเด็กๆ จะมอบกระดาษที่จดรายนามสิ่งของที่ต้องการส่งให้สำหรับการพบกันครั้งหน้า นักเรียนคนไหนที่ไม่มีครอบครัวมาเยี่ยม จะนั่งรอเงียบๆ อยู่ด้านหลังของห้อง

“สมอลนืย” สถาบันกุลสตรีชั้นสูงแห่งเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ความทรงจำจากศิษย์เก่าก่อนการปฏิวัติรัสเซีย

อาทิตย์ที่ผ่านมาเรามีโอกาสเข้าร่วมการบรรยายเกี่ยวกับการศึกษาของสตรีชั้นสูงในรัสเซียก่อนการปฏิวัติ จัดโดย Russian History Museum ผู้บรรยายคือด็อกเตอร์แนนซี่ โคโวลอฟ ซึ่งมีคุณย่าเป็นศิษย์เก่าโรงเรียนนี้ ครอบครัวของด็อกเตอร์โคโวลอฟอพยพจากรัสเซียช่วงการปฏิวัติและได้นำสมุดภาพเก่าของสถาบันติดตัวมาด้วย สมุดภาพเล่มนี้เป็นของขวัญที่คุณย่าได้รับจากโรงเรียน ภาพถ่ายต่างๆ แสดงให้เห็นรายละเอียดชีวิตของนักเรียนในช่วงก่อนการปฏิวัติ ใครบ้างสามารถเข้าเรียนในสถาบันกุลสตรีแห่งเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก สมอลนืย – สถาบันกุลสตรีแห่งเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก (Smolny Institute for Noble

เจ้าชายอัลเบิร์ตและควีนวิกตอเรีย ภาพจากซีรีย์ Victoria

ในวันที่เจ้าชายอัลเบิร์ตจากไป เกิดอะไรในราชสำนัก

ตำนานรักระหว่างควีนวิกตอเรียกับเจ้าชายอัลเบิร์ตเป็นเรื่องเล่าอมตะที่ถูกนำมาบอกเล่าหลายครั้งผ่านทั้งวรรณกรรมและสื่อร่วมสมัย ในขณะที่เรื่องราวในยุควิกตอเรีย ตั้งแต่ชุดแต่งงานไปจนถึงบรรดาลูกหลานราชินีสร้างสีสันมากมายให้ประวัติศาสตร์ การจากไปของเจ้าชายอัลเบิร์ตในวัยเพียง 42 ปี ก็เป็นอีกหนึ่งโศกนาฏกรรมที่ทำให้ประวัติศาสตร์พลิกโฉมหน้าไปจากเดิม

ราชำนักเบลเยียมในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ถือเป็นครั้งสุดท้ายที่กษัตริย์ยุโรปมีบทบาทโดยตรงกับสงคราม

เมื่อไหร่กันที่กษัตริย์เลิกนำทัพต่อสู้ในสนามรบ?

ใครเป็นแฟนหนังอัศวินย้อนยุคอาจติดภาพกษัตริย์ยุโรปยุคกลางแต่งชุดเกราะสวยสง่า กวัดแกว่งดาบเพื่อฟาดฟันศัตรู ทุกวันนี้บทบาทกษัตริย์ในฐานะผู้นำทัพไม่ได้ถูกปฏิบัติกันให้เห็น อันที่จริง ผู้นำรัฐสมัยใหม่ไม่ว่าจะเป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ หรือกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญอังกฤษ ก็ไม่ได้มีหน้าที่นำกองทัพเหมือนเมื่อก่อน ความเปลี่ยนแปลงนี้เกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อไหร่ ทำไมผู้นำประเทศถึงบอกลา เลิกจับอาวุธมุ่งสู่แนวหน้าเหมือนในยุคกลาง?

เฮนรี่ที่ 7 และเอลิซาเบธแห่งยอร์ก ห้อมล้อมไปด้วยลูกๆ สายเลือดของทั้งสอง คือการรวมกันของสองกุหลาบ กลายมาเป็นกุหลาบทิวเดอร์

เฮนรี่ที่ 7 กับความสำเร็จในการก่อตั้งราชวงศ์ทิวเดอร์

ในวันที่ 18 มกราคม 1486 เฮนรี่ ทิวเดอร์ หรือพระเจ้าเฮนรี่ที่ 7 แห่งอังกฤษ เข้าพิธีอภิเษกสมรสกับเอลิซาเบธแห่งยอร์ก ลูกสาวคนโตของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 พิธีจัดขึ้นที่เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์ 5 เดือนหลังจากที่เฮนรี่สามารถเอาชนะกองทัพของพระเจ้าริชาร์ดที่ 3 และปราบดาภิเษกตัวเองขึ้นเป็นกษัตริย์ อันที่จริงเฮนรี่ให้สัญญาจะแต่งงานกับเอลิซาเบธตั้งแต่เมื่อ 2 ปี

รัฐประหารฮับส์บูร์ – เมื่อจักรพรรดิออสเตรียทวงคืนบัลลังก์กฮังการี

ในปี 2021 เป็นปีครอบรอบ 100 ปี เหตุการณ์สำคัญของประวัติศาสตร์ คือความพยายามก่อการรัฐประหารของราชวงศ์ฮับส์บูร์ที่นอกจากจะเป็นการดิ้นรนครั้งสุดท้าย ยังกลายเป็นการตอกฝาโลงปิดทุกโอกาสที่ราชวงศ์นี้จะกลับมาปกครองทั้งออสเตรีย ฮังการี หรือดินแดนใดๆ ในภาคพื้นทวีปยุโรป หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 จบลงด้วยความพ่ายแพ้ คาร์ลที่ 1 จักรพรรดิองค์สุดท้ายของออสเตรีย-ฮังการี ต้องลี้ภัยออกจากประเทศพร้อมครอบครัว คาร์ลในตอนนั้นยังเป็นจักรพรรดิหนุ่มวัยสามสิบต้น ส่วนซีต้า

No more posts to show